สองสามวันมานี่เอาการ์ตูน Eagle ของ Kawaguchi Kaiji มาอ่าน (คนเขียนยุทธการใต้สมุทร) แล้วประมาณเดือนที่แล้วมี Kunimitsu เล่มใหม่ออก (คนเขียนคนเีดียวกะ Psychometrer Eiji) ทั้งสองเรื่องเป็นการ์ตูนการเมือง เรื่องแรกออกจะจริงจังหน่อยตามสไตล์ Kawaguchi เรื่องหลังออกฮานิด ๆ แต่ข้อมูลละเอียด
ความเหมือนของทั้งสองเรื่องคือตัวเอกเป็นตัวละครทางการเมือง พยายามเลือกตั้ง อ่านแล้วรู้สึกว่าถ้านักการเมืองไทยได้สักครึ่งของอย่างนี้จะดี Max ๆ โลกคงหน้าอยู่ (การ์ตูนนี่หว่า ทำไงได้...) มันรู้สึกว่าเนี่ย สิ่งที่มันพยายามนำเสนอในการ์ตูนเนี้ย ก็คือเป้าหมายที่นักการเมืองควรจะเป็น นักการเมืองควรจะมี mission ตัวเองแบบในเรื่องพวกนี้ ไม่ใช่มาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง (แนะนำ Eagle มาก ๆ ใครชอบ Kawaguchi นี่ควรจะไปหามาอ่านซะ)
Kawaguchi นี่เขียนนิยายแต่ละเรื่องตัวเอกจะแบบว่า High determination พร้อมจะสละทุกสิ่งเพื่อความเชื่อของตัวเอง จะเห็นการใช้ชีวิตแบบมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย อ่านแล้วอายในความขี้เกียจของตัวเอง อ่านแล้วขยันทำงาน นี่พึ่งไปเอาเรื่อง Araraki Express มา ยังไม่ไ้ด้อ่านเลย จบ icra ก่อนแล้วค่อยว่ากัน
นึกถึงบทความของ เซี่ยงเส้าหลง
ฝากนายกฯทักษิณ ชินวัตร ช่วยเรียนคุณหญิงพจมาน ชินวัตรนำความไปบอกนายสุชน ชาลีเครือผู้เป็นเสมือนเครือญาติ...
ให้ท่านไปศึกษาวัตรปฏิบัติที่ถือเป็นวีรกรรมของผู้มีตำแหน่ง "ประธานสภา" ของอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง
นายพึ่ง ศรีจันทร์
ถ้านายกฯทักษิณ ชินวัตรไม่เคยศึกษามา ก็ขอบอกเล่าไว้โดยสังเขป ณ ที่นี้ เพื่อจะได้ช่วยนำไปเรียนคุณหญิงพจมาน ชินวัตรนำความไปบอกนายสุชน ชาลีเครือผู้เป็นเสมือนเครือญาติ...
................................
นายพึ่ง ศรีจันทร์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2489 สังกัดพรรคสหชีพ อันเป็นพรรคการเมืองหนึ่งที่สนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์ และเป็นพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล
ท่านได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2490
พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้นยื่นญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2490 และได้รับการบรรจุเข้าวาระ ใช้เวลาอภิปรายซักฟอกรัฐบาลในหลายประเด็นอยู่ 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2490 เป็นต้นไป
นายพึ่ง ศรีจันทร์ทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างเที่ยงธรรม โดยไม่คำนึงถึงพรรคต้นสังกัด
ยึดถือแต่ระเบียบข้อบังคับ
จนแม้แกนนำพรรคฝ่ายค้านที่มีอุดมการณ์แตกต่างกัน ก็ยังเขียนบันทึกคำชมเชยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
เพราะท่านยึดถือว่าขณะทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้น ท่านไม่ได้สวมหมวกสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล
แต่สวมหมวกประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
อย่าว่าแต่จะเปิดโอกาสให้ส.ส.พรรคฝ่ายค้านแสดงความคิดเห็น หากทำถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ
ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล รัฐมนตรี หรือแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี หากกระทำการไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตรงตามระเบียบข้อบังคับ ท่านก็ไม่เคยละเว้นที่จะเตือน
แม้แต่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ก็เคยถูกประธานสภาผู้แทนราษฎรท่านนี้ห้ามไม่ให้พูดนอกประเด็น
เกิดรัฐประหารล้มรัฐบาลฝ่ายสนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์เมื่อคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
แต่ก่อนหน้านั้น 1 วัน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2490 นายพึ่ง ศรีจันทร์สั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรออกหนังสือเชิญประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามปกติในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2490
ท่านจึงไม่หนีไปไหน
เมื่อถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2490 นายพึ่ง ศรีจันทร์เดินทางไปยังที่ทำการรัฐสภาในขณะนั้น คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ขึ้นนั่งบัลลังก์ประธานสภาผู้แทนราษฎรตรงตามกำหนดนัดเวลา 10.00 น. โดยไม่ยอมรับรู้อำนาจของคณะรัฐประหาร ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นรถถังยังคงตรึงกำลังอยู่ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าหน้าที่ทำการรัฐสภา และมีกำลังทหารอยู่ภายในบริเวณที่ทำการรัฐสภาด้วย
มีส.ส.เข้าร่วมประชุมวันนั้นประมาณ 20 คน
นายพึ่ง ศรีจันทร์สั่งเลิกการประชุม เพราะองค์ประชุมไม่ครบ
ขณะที่กำลังดำเนินการประชุมชั่วช่วงระยะเวลาสั้น ๆ นั้น พล.ท.หลวงกาจสงคราม รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร เดินทางมาเชิญตัวนายพึ่ง ศรีจันทร์ รวมทั้งนายเจริญ ปัณฑโร และนายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการและรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ไปกักตัวไว้ที่กระทรวงกลาโหม และสอบสวนเพื่อเอาผิดในข้อหากบฏ
นายพึ่ง ศรีจันทร์ชี้แจงว่ากำหนดนัดประชุมมีขึ้นโดยอำนาจที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2490 ก่อนวันรัฐประหาร 1 วัน
ท่านในฐานะผู้สั่งการให้มีการประชุม ต้องรับผิดชอบ จะไม่มาประชุมได้อย่างไร
นายพึ่ง ศรีจันทร์ชี้แจงว่ากระทำไปโดยอำนาจตามกฎหมาย จะหาว่ากบฏได้อย่างไร คณะรัฐประหารเองต่างหากที่กระทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมือง เข้าลักษณะกบฏ
นายพึ่ง ศรีจันทร์ ถูกกักตัวอยู่ 3 วัน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระโดยคณะรัฐประหารไม่ได้ตั้งข้อหาอะไร ภายใต้การวิ่งเต้นช่วยเหลือของม.จ.นิตยากร วรวรรณ อดีตส.ส.พระนครศรีอยุธยาผู้มีสมญาว่า "เห่าหม้อ" ที่เคารพนับถือกันมานานวัน
นายพึ่ง ศรีจันทร์ ยุติบทบาททางการเมืองอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันนั้น แต่ก็ยังคงมีบทบาทเคลื่อนไหวรับใช้ส่วนรวมในท้องถิ่นตามโอกาสอันควร ตราบจนสิ้นลมปราณตามอายุขัยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2535 สิริอายุได้ 85 ปี
ทิ้งไว้แต่ "ตำนาน" ให้คนรุ่นหลังได้พิจารณา !
จริงหรือเท็จก็ไม่รู้ แต่อ่านแล้วก็ชอบ...
เฮ่อ... man lives by hope...
- Log in to post comments